สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานวิธีการทำปุ๋ยหมักเป็นองค์ความรู้ให้กับปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรชาวไทย ทั้งประเทศ ดังพระราชดำริ  
“ต้นไม้ทุกชนิดต้องการอาหาร เพื่อการเจริญเติบโต พูดง่าย ๆ เราต้องใส่ปุ๋ย ไร่นา สวน ของเรา พืชผล จึงจะงามดี เดี๋ยวนี้ปุ๋ย ที่ซื้อตามท้องตลาดแพงเหลือเกิน เรามาทำปุ๋ยหมักใช้เองดีกว่า”

ิธีทำ ของที่ต้องเตรียม

  1. ซากพืช ได้แก่ ใบไม้ ผักตบชวา หญ้าแห้ง ลำต้นถั่ว ลำต้นข้าวโพด ใบ และต้นมันสำปะหลัง กระดูกป่น ตามที่มี สับเป็นท่อน ๆ สั้น ๆ ให้เปื่อยเร็ว
  2. ปุ๋ย
    ก.ปุ๋ยคอก คือ มูลสัตว์ ขี้วัว ขี้ควาย ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อะไรก็ได้
    ข.ปัสสาวะคน หรือสัตว์ค.กากเมล็ดนุ่น , กากถั่ว , ซากต้นถั่วชนิดต่าง ๆ (พืชตระกูลถั่ว)
  3. 3.ดินร่วน พอสมควร ถ้าเป็นหน้าดินยิ่งดี

การกองปุ๋ย

  1. กองในหลุม ต้องขุดหลุมขนาดกว้างราว 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 เมตร ระวังดินพังทลายลงในหลุม ถ้ามีการระบายน้ำได้ยิ่งดี 
  2. กองในคอก ปรับดินบริเวณที่จะกองปุ๋ยหมักให้แน่น ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นที่ทำได้ กั้นเป็นคอกกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1 เมตร แบ่งคอกเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งไว้ใส่ปุ๋ยหมัก อีกครึ่งหนึ่งไว้กลับกองปุ๋ย ทำหลังคาใบจากหรือใบมะพร้าวคลุมหลังคา ถ้ามีถุงพลาสติกคลุมกันฝนชะปุ๋ยก็ดี
  3. เอาซากพืชที่เตรียมไว้กองเกลี่ยในคอก (หรือในหลุม) ให้เป็นชั้น เหยียบตามขอบให้แน่นขนาดคนเหยียบแล้วไม่ยุบอีก ชั้นหนึ่ง ๆ สูงราว 1 คืบ (30 ซม.) รดน้ำให้ชุ่ม แล้วเอาปุ๋ยคอกโรยทับให้ทั่วกัน สูง 2 องคุลี (5 ซม.) ถ้ามีปุ๋ยเคมี (สูตร 16-20-0 หรือ 14-14-14 , แอมโมเนียมซัลเฟต หรือยูเรีย) ก็โรยบาง ๆ ให้ทั่ว แล้วทับด้วยดินละเอียดหนาประมาณ 1 องคุลี สลับด้วยซากพืชแล้วรดน้ำทำเป็นชั้น ๆ อย่างนี้จนปุ๋ยเต็มคอก (น้ำที่รดจะผสมด้วยปัสสาวะด้วยก็ได้)

ข้อควรระวัง

  1. อย่าให้มีน้ำขัง การรดน้ำมากไปจะทำให้ระบายอากาศไม่ดี
  2. ปุ๋ยกองใหญ่ไปจะเกิดความร้อนสูง ปุ๋ยจะเสีย ถ้าในกองปุ๋ยมีความร้อนสูงไปให้เติมน้ำลงไปบ้าง
  3. ปุ๋ยกองเล็กไป จะสลายตัวช้า
  4. อย่าใช้ปุ๋ยเคมีพร้อมกับใส่ปูนขาว จะทำให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัว

การกลับปุ๋ย

ทุก 30 วัน ควรกลับกองปุ๋ย โดยเอาชั้นบนสุดของกองนำไปเกลี่ยในอีกส่วนของคอกเป็นชั้นล่างสุด แล้วเอาชั้นสองเกลี่ยทับแล้วรดน้ำ ควรกลับปุ๋ย (ทุก 30 วัน) จนกว่าซากพืชจะเปื่อยผุหมดทั้งกอง กินเวลา 3-4 เดือน เมื่อปุ๋ยใช้ได้ สังเกตุจากความร้อนในกองจะใกล้เคียงกับความร้อนของอากาศ ปุ๋ยหมักจะเป็นสีน้ำตาลแก่ เอาตะแกรงร่อนปุ๋ยหมักเก็บไว้

การใช้ประโยชน์

ประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ครึ่งหนึ่ง ทำให้ดินร่วน อุดมสมบูรณ์ เพิ่มธาตุไนโตรเจน ไม่เป็นอันตราย รักษาความชุ่มชื้นของดิน

หมายเหตุ

ถ้าที่เป็นดินทรายใช้อิฐกรุในหลุม จะทำให้ได้ผลดีขึ้น

ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดิน ได้สนองพระราชดำริ โดยได้ทำการศึกษา คิดค้น นวัตกรรม วิจัยจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร ผลิตสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ในระยะเวลาอันสั้น ประหยัด สะดวก ง่าย ตรงกับความต้องการของเกษตรกร แต่มีปัญหาในเรื่องปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยหมักไม่เพียงพอกับความต้องการธาตุอาหารของพืช ดังนั้น ในปี 2551 กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยหมักให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร จึงได้ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารสูง โดยใช้วัตถุดิบ ที่มีปริมาณธาตุอาหารสูง เช่น มูลไก่ มูลสุกร มูลนกกระทา มูลกระบือ มูลวัว กระดูกป่น และหินฟอสเฟต ฯลฯ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี สามารถปรับปรุง

สมบัติทางกายภาพ ชีวภาพ ทางเคมีในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช และจากการผลการทดลอง พบว่า สามารถเพิ่มผลผลิตพืชได้ 20 – 30 % ต่อมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำความกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานพระราชานุญาตนำสูตรปุ๋ยดังกล่าว ไปขยายผลเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกร ปรับใช้ในการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองในวงกว้าง

นอกจากนี้ กรมพัฒนาที่ดิน ยังมีแผนงานส่งเสริมการผลิตปุ๋ยสูตรพระราชทานที่มีธาตุอาหารสูง โดยมีการอบรม สาธิต ส่งเสริม ให้องค์ความรู้ รวมทั้งสนับสนุนวัตถุดิบ/ปัจจัยการผลิต เพื่อผลิตปุ๋ยสูตรพระราชทานที่มีธาตุอาหารสูง ให้กับ กลุ่มเกษตรกรที่ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และหมอดินอาสา

ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน

https://thaikaset.co.th/product-category/nursury-plant/